วันอังคารที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2558

สาระการเรียนรู้แกนกลาง
-ความหมายและพัฒนาการของอินเทอร์เน็ต
-การใช้งานอินเทอร์เน็ต เช่น ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิส์  blog  การโอนย้ายแฟ้มข้อมูล การสืบค้นข้อมูลและการใช้โปรแกรมเรียกค้นข้อมูล(search engine)การสนทนาบนเครีอข่าย
-คุณธรรมและจริยธรรมในการใช้อินเทอร์เน็ต
   *ผลกระทบของการใช้อินเทอร์เน็ตกับสังคม
   *มารยาท ระเบียบ และข้อบังคับในการใช้อินเทอร์เน็ต

วันพฤหัสบดีที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2558

คุณธรรมและจริยธรรมในการใช้อินเทอร์เน็ต
ได้กล่าวถึงบัญญัติสิบประการของการใช้คอมพิวเตอร์ไว้ดังนี้
1. ไม่ใช้คอมพิวเตอร์ทำร้ายผู้อื่น
2. ไม่รบกวนจนงานคอมพิวเตอร์ของผู้อื่น
3. ไม่แอบดูแฟ้มข้อมูลของผู้อื่น
4. ไม่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อลักขโมย
5. ไม่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อเป็นพยานเท็จ

วันเสาร์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2558

 บัญญัติ 10 ประการ ของการใช้อินเทอร์เน็ต
  
  จากปัญหาการล่อลวงที่เกิดจากการเล่นอินเทอร์เน็ตที่นับวันยิ่งมีมากขึ้น ทำให้หน่วยงานที่รับผิดชอบได้พยายามหามาตรการป้องกันปัญหาและภัยจากการใช้อินเทอร์เน็ต ซึ่งเกิดจากคนที่ขาดจิตสำนึกที่ดีของสังคม ดังนั้น จึงเป็นหน้าที่ของทุกคนที่จะสร้างจิตสำนึกที่ดีต่อตนเองและสังคมเพื่อหลีกเลี่ยงและรับมือจากความเสี่ยงจากภัยออนไลน์ ทั้งนี้รองศาสตราจารย์ยืน ภู่วรวรรณ ได้กล่าวถึง บัญญัติ 10 ประการซึ่งเป็นจรรยาบรรณที่ผู้ใช้ควรยึดถือไว้เป็นแม่บทของการปฏิบัติ ดังนี้

1.  ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์ทำร้าย หรือละเมิดผู้อื่น
2.  ต้องไม่รบกวนการทำงานของผู้อื่น
3.  ต้องไม่สอดแนม แก้ไข หรือเปิดดูแฟ้มข้อมูลของผู้อื่น
4.  ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการโจรกรรมข้อมูลข่าวสาร
5.  ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์สร้างหลักฐานที่เป็นเท็จ
6.  ต้องไม่คัดลอกโปรแกรมของผู้อื่นที่มีลิขสิทธิ์
7.  ต้องไม่ละเมิดการใช้ทรัพยากรคอมพิวเตอร์โดยที่ตนเองไม่มีสิทธิ์
8.  ต้องไม่นำเอาผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตน
9.  ต้องคำนึงถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นกับสังคมที่เกิดจากการกระทำของท่าน
10.ต้องใช้คอมพิวเตอร์โดยเคารพกฎระเบียบ กติกา และมีมารยาท


การใช้บริการต่างๆ บนอินเทอร์เน็ต
    อินเทอร์เน็ตเป็นเทคโนโลยีที่ช่วยให้เกิดการสื่อสารไร้พรมแดน กล่าวคือ ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตทั่วโลก สามรถเข้าถึงข้อมูลได้ไม่จำกัดสถานที่และเวลา ดังนั้น จึงมีการนำอินเทอร์เน็ตไปประยุกต์ใช้งานหลากหลายประเภท
    4.1 ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ หรืออีเมล (electronic mail หรือ e-mail)
           เป็นบริการใช้ได้รับความนิยมมาก เนื่องจากผู้ใช้งานสามรถรับส่งข้อความเพื่อติดต่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร กับบุคคลอื่นๆ ได้อย่างรวดเร็วกว่าการใช้บริการระบบไปรษณีย์แบบดั้งเดิม นอกจากนี้ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ยังสามารถส่งข้อมูลในรูปแบบอื่นๆ นอกเหนือจากตัวอักษรได้อีกด้วย เช่น ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว เสียง เป็นต้นแนบไปได้อีกด้วย
         การส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ต้องมีการระบุที่อยู่ของผู้รับเช่นเดียวกับการระบุที่อยู่บนซองของการส่งไปรษณีย์ธรรมดาทั่วไป ซึ่งในการส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ผู้ส่งและผู้รับจะต้องมีที่อยู่เรียกว่า ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์แอดเดรส (e-mail Address)
         สำหรับรูปแบบของไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์แอดเดรสจะประกอบด้วย 2 ส่วน คือ ชื่อผู้ใช้ และชื่อเครื่องบริการ โดยใช้เครื่องหมาย @ (ออกเสียงว่า แอ็ท) คั่นระหว่างทั้งสองส่วนนี้ ตัวอย่างเช่น

วันพฤหัสบดีที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2558

การเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต

 การเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต
    การเชื่อมเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ตที่นิยมใช้สำหรับผู้ใช้งานทั่วไปหรือหน่วยงานขนาดเล็กจะใช้การเชื่อมต่อแบบหมุนโทรศัพท์ (Dial-Up  Connection)  ซึ่งเป็นการเชื่อมต่อแบบชั่วคราวหรือเฉพาะบางเวลา ตามที่ผู้ใช้ต้องการ ผ่านสายโทรศัพท์ ซึ่งสิ่งที่จำเป็นในการเชื่อมต่อ มีดังนี้
    1 เครื่องคอมพิวเตอร์  เป็นอุปกรณ์สำหรับใช้ในการส่งและรับข้อมูล
    2 เว็บบราวเซอร์  เป็นโปรแกรมที่ใช้ในการดึงข้อมูลมาจาเว็บเซิร์ฟเวอร์ ซึ่งจัดเก็บอยู่ในรูปแบบที่เรียกว่า HTML (Hyper Text Markup Language)  และแปลความหมายของรูปแบบข้อมูลที่ได้กำหนดเอาไว้เพื่อนำเสนอแก่ผู้ใช้
    3 หมายเลขโทรศัพท์และสายโทรศัพท์  สำหรับเป็นสื่อกลางในการส่งข้อมูลข่าวสาร โดยผู้ใช้ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการโทรศัพท์เพียง 3 บาทต่อครั้งของการเชื่อมต่อ
    4 โมเด็ม  เป็นอุปกรณ์สำหรับแปลงสัญญาณข้อมูลของคอมพิวเตอร์ซึ่งอยู่ในรูปแบบดิจิทัล (Digital) ให้เป็นสัญญาณข้อมูลรูปแบบแอนะล็อก (analog) และเมื่อเป็นผู้ส่งจะแปลงสัญญาณข้อมูลรูปแบบแอนะล็อกให้เป็นดิจิทัล
    5 บริการชุดอินเทอร์เน็ตจากผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ต (ISP)  ซึ่งเปิดโอกาสให้ผู้ใช้บริการสามารถเลือกขอเป็นสมาชิกเป็นรายเดือน รายปี หรืออาจเป็นการซื้อชุดอินเทอร์เน็ตแบบสำเร็จรูป โดยคิดค่าใช้บริการเป็นหน่วยชั่วโมง บริษัทที่ให้บริการอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย เช่น ทีโอที กสท  โทรคมนาคม ทีทีแอนด์ที ล็อกอินโฟ  3BB เป็นต้น

การทำงานของอินเทอร์เน็ต

การทำงานของอินเทอร์เน็ต
การสื่อสารข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์จะมีโปรโตคอล (Protocol) ซึ่งเป็นระเบียบวิธีการสื่อสารที่เป็นมาตรฐานของการเชื่อมต่อกำหนดไว้ โปรโตคอลที่เป็นมาตรฐานสำหรับการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต คือ TCP/IP (Transmission Control Protocol/Internet Protocol)
เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่เชื่อมต่อเข้ากับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตจะต้องมีหมายเลขประจำเครื่อง ที่เรียกว่า IP Address เพื่อเอาไว้อ้างอิงหรือติดต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นๆ ในเครือข่าย ซึ่ง IP ในที่นี้ก็คือ Internet Protocol ตัวเดียวกับใน TCP/IP นั่นเอง IP address ถูกจัดเป็นตัวเลขชุดหนึ่งขนาด 32 บิต ใน 1 ชุดนี้จะมีตัวเลขถูกแบ่งออกเป็น 4 ส่วน ส่วนละ 8บิตเท่าๆ กัน เวลาเขียนก็แปลงให้เป็นเลขฐานสิบก่อนเพื่อความง่ายแล้วเขียนโดยคั่นแต่ละส่วนด้วยจุด (.) ดังนั้นในตัวเลขแต่ละส่วนนี้จึงมีค่าได้ไม่เกิน 256 คือ ตั้งแต่ 0 จนถึง 255เท่านั้น เช่น IP address ของเครื่องคอมพิวเตอร์ของสถาบันราชภัฎสวนดุสิต คือ 203.183.233.6 ซึ่ง IP Address ชุดนี้จะใช้เป็นที่อยู่เพื่อติดต่อกับเครื่องพิวเตอร์อื่นๆ ในเครือข่าย

ความหมายและพัฒนาการของอินเทอร์เน็ต

       อินเทอร์เน็ต (Internet)  เป็นระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ที่มีขนาดใหญ่ เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่อง
ทั่วโลก สามารถติดต่อสื่อสารถึงกันได้ โดยใช้มาตรฐานในการรับส่งข้อมูลที่เป็นหนึ่งเดียว หรือที่เรียกว่า
โปรโตคอล (Protocol) ซึ่งโปรโตคอล ที่ใช้บนระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต มีชื่อว่า ทีซีพี/ไอพี (TCP/IP : Transmission Control Protocol/Internet Protocol)